หนังสือที่เรียบเรียงจากงานวิจัย "การพนันภาคเหนือตอนบน" โดย ดร.อริยา เศวตามร์ วิเศษ สุจินพรัหม วิสุทธิ์ เหล็กสมบูรณ์ และ กนกพร ดีบุรี เล่มนี้ต้องการนำเสนอความรู้และการให้ความหมายจากมุมมองของผู้หญิงภายใต้วาทกรรมความรู้แบบสังคมปิตาธิปไตยที่มองว่า ความรู้หมายถึงความรู้ที่มีเหตุผลที่ถูกครอบครองโดยผู้ชาย ส่วนความรู้ของผู้หญิงซึ่งเป็นความรู้ที่ผู้หญิงได้รับจากประสบการณ์กลับถูกมองว่าไม่ใช่ความรู้ เนื่องจากเป็นความรู้ที่ไม่มีเหตุมีผล นอกจากนี้ยังเป็นการศึกษามุมมองของผู้หญิงที่ถูกมองว่าเป็น “ผู้หญิงธรรมดา” ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงที่เป็นแม่บ้าน แม่ค้า สาวโรงงาน หรือ ผู้หญิง ชายขอบไร้สัญชาติ ที่มีหลากหลายวัยและมีประสบการณ์ในการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อความอยู่รอดในสังคมที่เปลี่ยนแปลงในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นการเปิดมุมมองใหม่ในการทำความเข้าใจมุมมองของผู้หญิงเหล่านี้ในการสร้างความหมาย ตีความหมายใหม่และสร้างพื้นที่ใหม่ของผู้หญิง
งานศึกษานี้ยังสะท้อนให้เห็นถึง ความลักลั่นที่ผู้หญิงยังคงผูกติดอยู่กับบทบาทตามจารีตแบบเดิมและการมีเสรีภาพในยุคสมัยใหม่ ทำให้ผู้หญิงต้องรับภาะทั้งงานนอกบ้านและงานในบ้าน โดยเฉพาะการรับผิดชอบดูแลรายรับและรายจ่ายในครัวเรือนให้อยู่ในภาวะสมดุล ซึ่งพวกเธอต้องพยายามดิ้นรนทุกวิถีทางให้ตนเองและครอบครัวอยู่รอด จากการศึกษาพบว่าการเล่นหวยนั้นกลายเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามต่อสู้ดิ้นรนในชีวิตประจำวันเพื่อบริหารจัดการครอบครัวที่เน้นไปที่เศรษฐกิจครัวเรือนหรือ “การผลิตซ้ำทางสังคม” ที่อยู่ในพื้นที่ส่วนตัวหรือพื้นที่ในบ้าน ซึ่งแนวคิดเศรษฐศาสตร์ที่เน้นตลาดเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจมองว่าไม่มีคุณค่าในทางเศรษฐกิจ ขณะที่การผลิตซ้ำทางสังคมของผู้หญิงเป็นการดำรงรักษาให้ระบบทุนนิยมอยู่ได้ ทั้งในระดับท้องถิ่นและข้ามพรมแดน แต่อย่างไรก็ตามเศรษฐกิจในที่นี้อาจมีความซับซ้อนมากกว่าในมุมมองของเศรษฐศาสตร์กระแสหลักและแนวคิดสตรีนิยมแนวเศรษฐศาสตร์การเมือง เนื่องจากการเล่นหวยใต้ดินเป็น “ยุทธวิธี” หนึ่งในการต่อสู้ดิ้นรนของผู้หญิงภายใต้ความเสี่ยง ความไม่มั่นคงในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีความพยายามที่หลากหลายซับซ้อนในแต่ละสถานการณ์ และมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับมิติอื่น ๆ ด้วย อย่างเช่น การต่อสู้ดิ้นรนในเชิงวัฒนธรรมหรือสัญลักษณ์ หรือการต่อสู้ในเชิงการเมืองของกลุ่มคนที่ด้อยอำนาจและอยู่ที่ชายขอบของสังคม
การศึกษาเรื่องหวยจากมุมมองของผู้เล่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เล่นที่เป็นหญิงจึงมีความสำคัญต่อการทำความเข้าใจใหม่ ไม่มองหญิงผู้เล่นหวยเป็นเพียง “เหยื่อ” ของระบบโครงสร้างใหญ่ หากมองผู้เล่นในฐานะผู้กระทำ และโต้แย้งดิ้นรน โดยใช้หวยเป็นเครื่องมือในการสร้างความหมายในการต่อสู้ดิ้นรนให้ครอบครัวอยู่รอด หวังเป็นอย่างยิ่งว่า เสียงของผู้หญิงที่สะท้อนผ่านงานศึกษาครั้งนี้จะช่วยทำให้สังคมเกิดความตระหนักและให้ความสำคัญ ในการฟังและการได้ยินเสียงจากมุมมองของผู้หญิง เพื่อทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาและการเปลี่ยนแปลงที่คำนงถงมิติที่หลากหลายในการตัดสินใจมากขึ้น
การพนันในประเทศฟิลิปปินส์ : กฎหมายและการกำกับดูแล
โดย ปิยอร เปลี่ยนผดุง และ พงศกร เรืองเดชขจรการพนันในประเทศกัมพูชา : กฎหมายกับความพลิกผัน
โดย พงศกร เรืองเดชขจร และ คัทลียา เหลี่ยมดีพฤติกรรมการพนันการเล่นพนันออนไลน์ของคนรุ่นใหม่ ปี 2566 [Fact Sheet]
โดย CGS