งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาสถานการณ์และพฤติกรรมการเล่นพนันออนไลน์ของวัยแรงงานในชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ และ 2) จัดกิจกรรมรณรงค์แบบมีส่วนร่วม เพื่อค้นหามาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันและลดการเล่นพนันออนไลน์ของวัยแรงงานในชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินงานวิจัยแบบผสานวิธี ทั้งงานวิจัยเชิงปฏิบัติการ งานวิจัยเชิงคุณภาพ และงานวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีพื้นที่การศึกษา 2 พื้นที่ ประกอบด้วย เขตเทศบางเมืองศรีสะเกษ และพื้นที่ชายแดนจังหวัดศรีสะเกษ คือ อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ ดำเนินการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์ข้อมูลเชิงลึกจากกลุ่มวัยแรงงานชุมชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก ในการจัดการปัญหาพนันในชุมชน โดยใช้เทคนิคการสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ เพื่อเก็บข้อมูลสถานการณ์ การแก้ไขปัญหา แนวทางหรือมาตรการการดำเนินงานการป้องกันและลดผลกระทบการพนันออนไลน์ในชุมชนพื้นที่ละ 10 คน 2 พื้นที่ รวม 20 คน เก็บข้อมูลการวิจัยเชิงปฏิบัติการจากการทดลองดำเนินกิจกรรมการเสริมสร้างความตระหนักต่อผลกระทบการเล่นพนันออนไลน์ของวัยแรงงานในชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นกลุ่มวัยแรงงานชุมนทั้งสองพื้นที่ พื้นที่ละ 50 คน รวมเป็น 100 คน นำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า
1. สถานการณ์และพฤติกรรมการเล่นพนันออนไลน์ของวัยแรงงานในชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า สถานการณ์เล่นการพนันออนไลน์ในพื้นที่เทศบาลเมืองและเขตพื้นที่ชายแดนจังหวัดศรีสะเกษ ทั้งสองพื้นที่นี้กลุ่มวัยแรงงานนิยมเล่นพนันออนไลน์คล้ายคลึงกัน โดยเฉพาะการเล่นพนันหวยออนไลน์ ล็อตเตอรี่ออนไลน์ สล็อตออนไลน์ โดยเหตุผลส่วนใหญ่ที่เล่นพนันออนไลน์คือ หวังว่าจะเป็นอีกหนึ่งช่องทางเสริมรายได้ให้ครอบครัว การเข้าถึงการเล่นพนันที่สะดวก และเล่นง่ายมีตัวเลือกของผลิตภัณฑ์การพนันออนไลน์ให้เลือกเล่นหลากหลาย และส่วนใหญ่วัยแรงงานชุมชนที่เข้าสู่วงจรการพนันมักมีพฤติกรรมการใช้จ่ายเงินที่ไม่เหมาะสมกับเงินเดือนหรือรายได้ครัวเรือน ทำให้เกิดความขัดสนในการหมุนเวียนเงินใช้จ่ายในระดับครัวเรือน จึงผันตัวเองเข้าสู่วงจรพนันออนไลน์
2. ความรู้และทัศนคติที่มีต่อการพนันออนไลน์ของวัยแรงงานชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า 2.1) กลุ่มวัยแรงงานในชุมชนมีทัศนคติต่อการเล่นพนันออนไลน์ว่าการพนันออนไลน์เป็นกิจกรรมที่สนุกสนานตื่นเต้นอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 3.96, SD. = .634) 2.2 ผู้เล่นพนันออนไลน์ส่วนหนึ่งคิดว่าการเล่นพนันออนไลน์ถือว่าเป็นกิจกรรมผ่อนคลายในยามว่าง ( = 3.81, SD. = .394) และ 2.3) และการติดการพนันออนไลน์ทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพจิต อยู่ในระดับมากที่สุด ( =3.92SD.= .273)
3. หลังการจัดกิจกรรมเสร็จสิ้น 3 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มวัยแรงงานชุมชนเขตเทศบาลฯ มีพฤติกรรมการเล่นพนันออนไลน์เฉลี่ย 3.08 วันต่อสัปดาห์ และกลุ่มวัยแรงงานชุมชนพื้นที่ชายแดน มีพฤติกรรมการเล่นพนันออนไลน์เฉลี่ย 2.92 วันต่อสัปดาห์ และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลพฤติกรรมการเล่นพนันออนไลน์ด้วยสถิติแบบที ชนิดที่เป็นอิสระต่อกัน (Independent t-test) พบว่า กลุ่มวัยแรงงานชุมชนเขตเทศบาลและกลุ่มวัยแรงงานชุมชนพื้นที่ชายแดนฯ มีพฤติกรรมการเล่นพนันออนไลน์แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (p>.05) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการเข้าร่วมกิจกรรมการเสริมสร้างความตระหนักต่อผลกระทบการเล่นพนันออนไลน์ของวัยแรงงานในชุมชนจังหวัดศรีสะเกษยังไม่ส่งผลต่อการลดพฤติกรรมการเล่นพนันออนไลน์ในกลุ่มวัยแรงงานชุมชนทั้งสองกลุ่มมากนัก แต่กลุ่มวัยแรงงานเขตเทศบาลฯ มีแนวโน้มในการเปลี่ยนพฤติกรรมการเล่นพนันออนไลน์ลดลง คิดเป็นร้อยละ 10.0 และกลุ่มวัยแรงงานพื้นที่ชายแดนฯ ฯ มีแนวโน้มในการเปลี่ยนพฤติกรรมการเล่นพนันออนไลน์ลดลงคิดเป็นร้อยละ 14.0
4. แนวทางหรือมาตรการการดำเนินงานการป้องกันและลดผลกระทบการพนันออนไลน์ในชุมชนจังหวัดศรีสะเกษ พบว่า บริบท อัตลักษณ์ และวัฒนธรรมหรือภูมิปัญญาของคนในชุมชนพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษที่แต่ละท้องถิ่นที่มีกฎ ข้อห้าม ข้อปฏิบัติ ผสมผสาน ความเชื่อท้องถิ่นที่แฝงอยู่เพื่อควบคุมพฤติกรรมของคน ซึ่งถือปฏิบัติสืบต่อกันมา จนกลายเป็นวัฒนธรรมที่ต้องถือปฏิบัติ กลายเป็นกฎระเบียบทางสังคม และแนวปฏิบัติที่อยู่ภายใต้ความพอประมาณและความพออยู่พอกินสามารถนำมาป้องกันปัญหาเสพติดการพนันออนไลน์ได้ในระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนได้ ควบคู่การส่งเสริมกระบวนการสร้างรู้ ผ่านสื่อป้ายประชาสัมพันธ์สื่อออนไลน์ต่างๆ รวมทั้งการสร้างพื้นที่สร้างสรรค์ในชุมชน การนําเสนอประเด็นปัญหาและข้อมูลผ่านที่ประชุมหมู่บ้านและชุมชน และการนำเสนอแผนการจัดการปัญหาพนันออนไลน์ให้แก่หน่วยงานท้องถิ่น
การพนันเชิงสันทนาการ (Social Gambling)
โดย พงศกร เรืองเดชขจรความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเล่นการพนันออนไลน์กับปัญหาการพนันของนักเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์
โดย ไพฑูรย์ สอนทน, นฤมล จันทร์มา, อัมพร สอนทนมาตรการการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมจากรายได้ภาคธุรกิจคาสิโน
โดย กาญจนุรัตน์ ไมรินทร์การศึกษาพฤติกรรมและผลกระทบการเล่นพนันของประชากรครัวเรือนเปราะบางในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ
โดย รพีภัทร ศรีไกรภักดิ์