การศึกษาวิจัยเรื่อง : การศึกษาพฤติกรรมและผลกระทบการเล่นพนันของประชากรครัวเรือนเปราะบางในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรม และผลกระทบการเล่นพนันของประชากรครัวเรือนเปราะบางในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการปัญหาการเล่นพนันของประชากรครัวเรือนเปราะบางในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยนี้ การวิจัยแบบผสมวิธี (mixed method) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ เชิงลึก จำนวน 20 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 20 คน และการสอบถามข้อมูลเชิงปริมาณ จำนวน 400 คน จากกลุ่มตัวอย่าง แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ สังเคราะห์ สรุปผล และนำเสนอแบบพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า
พฤติกรรมการเล่นพนันของประชากรครัวเรือนเปราะบางในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ส่วนใหญ่มาจากสาเหตุความต้องการมีเงิน มีรายได้ หวังรวย แล้วนำเงินไปใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน สาเหตุหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทัศนคติหรือแนวคิดของบุคคลที่มีต่อการพนันทั้งด้านบวกและ ครัวเรือนเปราะบางมองว่าการพนันเป็นการเสี่ยงโชค คนที่ชื่นชอบการพนันเป็นคนที่ชอบเสี่ยง ชอบแข่งขัน ชอบการท้าทาย การมีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพนันของครัวเรือนเปราะบางส่งผลต่อการเข้าถึงการพนันได้ง่ายและสะดวก สามารถเล่นหรือเข้าถึงการพนันได้ง่าย รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจในครัวเรือนความเปราะบางทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจด้านอารมณ์ และด้านสังคม และ อิทธิพลสื่อ ผลกระทบการเล่นพนัน ได้แก่ อารมณ์และพฤติกรรมเบี่ยงเบน พฤติกรรมไม่พึงปรารถนา ค่านิยมและ ปัญหาหนี้สิน ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว และชุมชน
แนวทางการจัดการปัญหาการเล่นพนันของประชากรครัวเรือนเปราะบางในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ดังนี้ ระดับบุคคล คือ การจัดการตนเองมิให้เข้าสู่การเสพติดการพนัน ปรับมุมมอง ทัศนคติ กระบวนการคิด ในเรื่องการเล่นการพนัน การสร้างค่านิยมใหม่สำหรับเด็กและ ระดับครัวเรือน คือ การเป็นแบบอย่างที่ดีในการจัดการปัญหาการพนัน การสื่อสารเชิงบวกในครอบครัว ระดับชุมชน คือ การบังคับใช้ข้อบังคับ กฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ ควบคู่กับกฎ กติกา ข้อบังคับ หรือมาตรการในชุมชน การสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ต่างๆ สิ่งสำคัญในการจัดการปัญหาการพนันในชุมชนนั้น ประชาชนในชุมชนต้องมีส่วนร่วมในการวางแผนจัดการแก้ไขปัญหาและต้องบูรณาการการจัดกิจกรรมร่วมกันทั้งบ้าน ชุมชน วัด และ โรงเรียน การสร้างเครือข่ายการทำงานขับเคลื่อนและป้องกันการพนันในชุมชน และการผลักดันนโยบายระดับท้องถิ่นในด้านปัญหาการพนัน
ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการเล่นการพนันออนไลน์กับปัญหาการพนันของนักเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์
โดย ไพฑูรย์ สอนทน, นฤมล จันทร์มา, อัมพร สอนทนมาตรการการจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมจากรายได้ภาคธุรกิจคาสิโน
โดย กาญจนุรัตน์ ไมรินทร์การศึกษาพฤติกรรมและผลกระทบการเล่นพนันของประชากรครัวเรือนเปราะบางในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ
โดย รพีภัทร ศรีไกรภักดิ์การพนันในจีนและผลกระทบต่อภูมิภาคอาเซียน
โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร, กุลนรี นุกิจรังสรรค์, กรองจันทน์ จันทรพาหา