การประชุมวิชาการศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ปี 2565
การพนันที่เป็นธุรกิจ ผู้ลงทุนในกิจการพนันย่อมต้องการกำไรและขยายธุรกิจ ประกอบกับธรรมชาติของการพนัน ถ้าคนเริ่มเล่นพนันได้ชนะพนันจะทำเกิดความอยากเล่นพนันบ่อยขึ้น และมีโอกาสก้าวเข้าสู่ภาวะเสี่ยงที่จะเป็นนักพนันที่มีปัญหา (Problem Gambler) หรือเป็นโรคติดพนัน (Pathological Gambler) เมื่อคนเล่นพนันยิ่งเสพติดการพนันมากขึ้น ความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าและความภูมิใจในตัวเองจะลดลง ทักษะความสามารถในการจัดการปัญหาด้านความคิด จิตใจ และอารมณ์ก็จะลดลงด้วย ก่อให้เกิดปัญหาต่อการดำเนินชีวิตและตามมาด้วยผลกระทบ เช่น ปัญหาสุขภาพจิตและสุขภาพกาย ปัญหาหนี้สิน ปัญหาครอบครัว การใช้ความรุนแรง อาชญากรรม ฯลฯ และยังทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจและความสัมพันธ์ทางสังคมที่มีผลกระทบต่อครอบครัวและคนใกล้ชิดของผู้ติดพนันแต่ละคน ระหว่าง 10-17 คน
ดังนั้น ประเทศที่อนุญาตให้มีการเล่นพนันโดยถูกกฎหมายส่วนใหญ่จึงมีบทบัญญัติควบคุมการพนันที่เข้มงวด ตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติการพนัน ค.ศ. 2005 (Gambling Act 2005) ที่บัญญัติโดยรัฐสภาของสหราชอาณาจักร ระบุวัตถุประสงค์หลัก 3 ประการ ได้แก่
กฎหมายการพนันที่ทันสมัยจึงออกแบบให้มี "คณะกรรมการกำกับกิจการพนัน" (Gambling Commission) ทำหน้าที่กำหนดแนวทางปฏิบัติให้แก่องค์กรท้องถิ่นที่มีหน้าที่ "ออกใบอนุญาตให้มีการเล่นพนันบางประเภท" กำกับดูแลการจัดบริการของธุรกิจการพนันให้มีความสมดุลกับการปกป้องผู้เล่น เยาวชน และสังคมโดยรวม พร้อมกับให้มี “กองทุนป้องกันและลดผลกระทบจากการพนัน” ทำหน้าที่จัดสรรเงินจากกิจกรรมการพนันไปสู่กิจกรรมป้องกันและลดภัยอันตรายจากการพนัน เช่น การวิจัยปัญหาที่เกิดจากการพนัน การพัฒนาชุดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนในโรงเรียน การพัฒนาสื่อการเรียนรู้สำหรับประชาชนกลุ่มต่างๆ ฯลฯ รวมถึงจัดหน่วยบริการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาจากการพนัน ซึ่งมีบริการทั้งการให้คำปรึกษาผ่านโทรศัพท์ ผ่านระบบออนไลน์ นัดปรึกษาโดยตรงกับเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ และให้การบำบัดผู้เป็นโรคติดพนัน (Pathological Gambler)
ประเทศไทย พ.ร.บ.การพนัน พ.ศ. 2478 อนุญาตให้การพนันบางประเภทเป็นกิจกรรมถูกกฎหมาย ที่เห็นกันทั่วไปคือ สลากกินแบ่งรัฐบาล และที่เห็นเฉพาะบางสถานที่ที่ได้รับอนุญาต เช่น ชกมวย ม้าแข่ง ชนวัว ชนไก่ กัดปลา ฯลฯ ส่วนการพนันในบ่อนหรือคาสิโนและการพนันออนไลน์เป็นกิจกรรมผิดกฎหมาย กับคำถามที่เวียนกลับมาอีกครั้ง สังคมไทยพร้อมจะมีบ่อนการพนันหรือคาสิโนถูกกฎหมายหรือไม่
ฝ่ายสนับสนุน มีเหตุผลหลักคือ กระตุ้นพัฒนาการเศรษฐกิจโดยใช้คาสิโนเป็นตัวเร่ง ดึงดูดการลงทุนและนักท่องเที่ยวไปยังภูมิภาคหรือเมืองที่ต้องการ ใช้คาสิโนเป็นเครื่องมือในการเพิ่มรายรับจากภาษี การสร้างงาน และสิ่งอื่นๆ ดึงประชาชนไม่ให้ไปเล่นพนันในประเทศอื่น และมีอีกเหตุผลหนึ่งคือ ประเทศซึ่งถือว่าทันสมัยทั้งหลายต่างก็มีคาสิโนถูกกฎหมายกันทั้งสิ้น ดังนั้นคาสิโนถูกกฎหมายจึงเป็นอะไรที่ต้องทำ เพราะที่ไหนๆ ก็ทำกันแล้ว
ฝ่ายต่อต้าน มีเหตุผลมากมายที่ดูเหมือนทุกคนในทุกสังคมจะรู้กันอยู่แล้วคือ ประเด็นทางศาสนาและวัฒนธรรม แต่เหตุผลที่สำคัญกว่าคือ ความไม่แน่ใจว่ารัฐบาลจะสามารถควบคุมให้ธุรกิจการพนันดำเนินการเพื่อผลประโยชน์ของสาธารณชน ไม่ยุ่งเกี่ยวกับองค์กรอาชญากรรม การทุจริตคอร์รัปชั่น และไม่ขยายตัวไปสู่การพัฒนาเกมพนันใหม่ๆ ที่สะดวก น่าตื่นเต้น เน้นตลาดมวลชน ซึ่งจะทำให้ท้ายที่สุดภาษีการพนันเท่ากับเป็นภาษีคนจน กลายเป็นภาระกับคนจนมากกว่าคนรวย และที่สำคัญคือ ผลกระทบทางสังคม ซึ่งมีรูปแบบหลากหลาย เช่น การเพิ่มขึ้นของนักพนัน โดยเฉพาะนักพนันที่เป็นเยาวชน การเล่นพนันมากเกินไปทำให้เกิดปัญหาทางการเงิน การล้มละลาย ครอบครัวแตกแยก การเพิ่มขึ้นของโจรขโมย การฉ้อโกง ฯลฯ และที่ร้ายแรงที่สุดคือ ปัญหาโรคติดการพนัน เพราะเป็นปัญหาที่แก้ไขยากและใช้ต้นทุนสูง
การแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 ทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจทั่วโลก คาสิโนเป็นหนึ่งในธุรกิจที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก และกรณีประเทศไทยบ่อนการพนันยังเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคโควิด-19 การพิจารณาให้มีคาสิโนถูกกฎหมายในยุคปัจจุบันจึงจำเป็นต้องตระหนักถึงปัจจัยที่ “มากกว่าในอดีต” และไม่ว่าจะมีคาสิโนถูกกฎหมายหรือไม่ สังคมไทยยังคงมีการพนันถูกกฎหมายและมีผลกระทบจากการพนัน ดังนั้น สังคมไทยจึงควรมีกลไกที่จะคุ้มครองผู้เล่นการพนัน คุ้มครองเด็กและเยาวชนจากการพนัน จัดหน่วยบริการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบปัญหาจากการพนัน และให้การบำบัดผู้เป็นโรคติดพนัน ฯลฯ
ด้วยเหตุดังกล่าว ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ได้ประสานความร่วมมือกับ มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดให้มีการประชุมวิชาการศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน ปี 2565 หัวข้อ “ก้าวย่าง บนทางเสี่ยง : การพนันในโลกที่กำลังเปลี่ยนไป” เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นข้อค้นพบจากงานวิจัยสู่สาธารณะ และเปิดพื้นที่ให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยให้ทุกภาคส่วนร่วมนำเสนอนโยบาย มาตรการ หรือกลไกที่เหมาะสมในการจัดการกับการพนันในสังคมไทย
2.1 เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ที่เป็นข้อค้นพบจากงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการพนัน
2.2 เพื่อนำเสนอนโยบาย มาตรการ หรือกลไก ที่เหมาะสมในการจัดการกับการพนันในสังคมไทย
2.3 เพื่อเชื่อมโยงการทำงานระหว่างเครือข่ายนักวิชาการ ภาคีเครือข่ายประเด็นพนันอื่นๆ และหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
โรงแรมอมารี ดอนเมือง แอร์พอร์ต กรุงเทพมหานคร
ผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 100-120 คน ประกอบด้วย
5.1 นักวิจัย นักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ
5.2 ภาคีเครือข่ายกลุ่มแผนงานด้านการลดปัญหาจากการพนัน
5.3 บุคลากรจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
5.4 บุคคลทั่วไป
5.5 สื่อมวลชน
6.1 ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน
6.2 มูลนิธิรณรงค์หยุดพนัน
6.3 สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
6.4 สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
รายงานสถานการณ์การพนันในสังคมไทย ปี 2564
โดย นวลน้อย ตรีรัตน์อนาคตอุตสาหกรรมบ่อนการพนัน หลังวิกฤติโควิด-19
โดย อาร์ม ตั้งนิรันดร, ณัฐกร วิทิตานนท์, วิทยากร เชียงกูล'สื่อใหม่' . . . ตัวแปรเปลี่ยนโลกการพนัน ?
โดย สุริยัน บุญแท้, ธาม เชื้อสถาปนศิริ, สิรวิชญ์ อ่อนเกตุพล, มงคล บางประภา