• จุลสาร
  • งานวิจัย
  • หนังสือ

การพนันในอีสาน: มองผ่านบริบทวัฒนธรรมความเชื่อและวัฒนธรรมการเมือง กรณีศึกษาจังหวัดขอนแก่น

โดย ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ

โครงการวิจัยเรื่อง “การพนันในอีสาน: มองผ่านบริบทวัฒนธรรมความเชื่อและวัฒนธรรมการเมือง” มีจุดมุ่งหมายเพื่อ เพื่อทำความเข้าใจปรากฏการณ์การเล่นการพนันของคนอีสานที่ยังมีจำนวนผู้เล่นมากที่สุดในประเทศไทยโดยเฉพาะหวยใต้ดินและนำเสนอนโยบายเพื่อลดปัญหาการพนันในภาคอีสาน โครงการนี้ศึกษาในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น อุบลราชธานีและศรีสะเกษ โดยเน้นการวิจัยเชิงคุณภาพ จาก 55 กรณีศึกษา ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสนทนากลุ่มย่อย และการเสวนาออนไลน์ แนวคิดสำคัญที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ วัฒนธรรมพื้นถิ่น วัฒนธรรมการเมือง นิเวศวัฒนธรรม เสรีนิยมใหม่ โดยเพิ่มมุมมองเศรษฐศาสตร์พฤติกรรมที่เรียกว่าภาพลวงตาของการควบคุมและภาพลวงตาของการลงทุนที่มาจากฐานคิดผสมผสานระหว่างมิติจิตวิทยาและเศรษศาสตร์ 

ผลการศึกษาพบว่าการเล่นพนันของคนอีสานมีเหลื่อซ้อนกันระหว่างการเล่นพนันเชิงเศรษฐกิจที่มุ่งหวังรายได้ด้วยการลงทุนกับการเล่นพนันที่ฝังแฝงในวัฒนธรรมพื้นถิ่นและวัฒนธรรมสมัยใหม่  อย่างไรก็ตาม พบว่ามีคนอีสานมุ่งเล่นการพนันเพื่อมากกว่าซึ่งเป็นการเล่นพนันที่มีความเสี่ยง การที่การพนันอีสานดำรงอย่างต่อเนื่องและเพิ่มมากขึ้นมากจากสาเหตุหลัก ได้แก่ คนอีสานโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุและวัยกลางคนใช้ความเชื่อพื้นบ้านเป็นฐานการเล่นหวยและซื้อล๊อตตารี่ อีกทั้งพบว่าการคนอีสานระดับล่างทุกกลุ่มทั้งอยู่ในเมืองและชนบทไม่อาจเข้าถึงประโยชน์และถูกครอบงำจากการพัฒนาแบบทุนนิยมและเสรีนิยมได้อย่างเท่าเทียมกัน  คนอีสานกลุ่มผู้สูงอายุและวัยกลางคนรวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ ใช้ความเชื่อและเข้าสู่พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นในฐานะพื้นที่ของการปลดปล่อยและปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรมแห่งความหวังของโชคลาภ ในขณะที่กลุ่มเยาวชนส่วนใหญ่ไม่ได้สนใจใช้ความเชื่อและสิ่งศักดิ์สิทธิ์แบบดั้งเดิมเพื่อกำกับการเล่นพนันพวกเขาใช้ความเป็นเหตุเป็นผลและการคิดคำนวณในการเล่นพนันมากกว่า 

นอกจากนี้พบว่าการเล่นพนันของคนอีสานยังสำทับด้วยเหตุผลเชิงจิตวิทยาคือการคิดคาดการณ์ว่าตนเองจะมีความสามารถในการควบคุมการเสี่ยงโชคได้จนนำมาสู่ภาพลวงตาของควบคุมจนนำมาสู่ภาพลวงตาของลงทุนที่คิด อย่างไรก็ตามพบว่าการคิดว่าตนเองควบคุมความเสี่ยงได้นำมาสู่ปัญหาการพนันที่ในระดับที่รับไม่ได้ ดังนั้นข้อเสนอของชุดโครงการวิจัยนี้คือการลดปัญหาการพนันในอีสานควรดำเนินการผ่านชุมชนเข้มแข็ง การสร้างงานสร้างรายได้และโอกาสทักษะมนุษย์ที่ดีเพื่อเข้าสู่การจ้างงาน การควบคุมสื่อออนไลน์ และ การใช้สถาบันทางสังคมในการให้ความรู้และความเสี่ยงจากพนัน