จากปัญหาการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา ซึ่งที่ผ่านมามีการขับเคลื่อนร่วมกับภาคีที่เกี่ยวข้อง จนนำไปสู่ความสำเร็จในการผลักดันมาตรการควบคุมราคา 80 บาท ตามราคาหน้าสลากฯ ตั้งแต่งวดวันที่ 16 มิถุนายน 2558 เป็นต้นมา โดยมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดในระยะแรก แต่เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงปัจจุบัน กลับพบว่าการซื้อขายสลากฯ เกินราคาหน้าสลากฯ ยังมีปรากฎพบเห็นได้ง่ายโดยทั่วไป
ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนันจึงประสงค์ให้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับสถานการณ์ปัญหาสลากฯ เกินราคาและความเห็นของผู้ซื้อต่อการแก้ไข จึงได้ร่วมกับศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB) ดำเนินโครงการ “การสำรวจปัญหาการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคา และความคิดเห็นต่อแนวทางการแก้ไขในปัจจุบัน” ครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความชัดเจนและเชื่อถือได้ สำหรับนำไปแก้ปัญหาอย่างจริงจังต่อไป
วัตถุประสงค์การวิจัย
1. เพื่อศึกษาประสบการณ์การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล
2. เพื่อสำรวจพฤติกรรมการซื้อ และราคาที่ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 16 มีนาคม 2560
3. เพื่อสำรวจความคิดเห็นต่อแนวทางการแก้ปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาและการบริหารจัดการของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
4. เพื่อสำรวจประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ขอบเขตด้านเนื้อหา
สาระสำคัญของการศึกษา ประกอบด้วย
1. ประสบการณ์การซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้แก่ ความถี่บ่อยของการซื้อ (ในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา) เหตุผลที่ซื้อสลากฯ จำนวนที่ซื้อเปรียบเทียบตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นมา เปรียบเทียบกับปี 2559 การซื้อแบบรวมชุด สถานที่ที่ซื้อและราคาเฉลี่ยต่อใบ/คู่
2. พฤติกรรมการซื้อ และราคาที่ซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดวันที่ 16 มีนาคม 2560 ได้แก่ การพบเห็นการจำหน่ายสลากรวมชุด และการจำหน่ายสลากฯ เกินกว่า ใบ/คู่ละ 80 บาท จำนวนและราคาเฉลี่ยที่ซื้อสลากฯ ทั้งแบบใบ/คู่ และแบบรวมชุด
3. ความคิดเห็นต่อแนวทางการแก้ปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาและการบริหารจัดการของสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ได้แก่ การทราบถึงมาตรการในการแก้ไขปัญหาจำหน่ายสลากฯ เกินราคา และความคิดเห็นต่อผลของแต่ละมาตรการ ความเชื่อมั่นต่อแนวทางที่นำมาใช้เพื่อลดปัญหาสลากเกินราคาฯ ในปัจจุบัน เช่น การเพิ่มจำนวนสลากฯ การมีสลากรูปแบบใหม่ๆ การควบคุมราคาสลากฯ โดยรัฐบาล
4. ประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ความเชื่อมั่นต่อการจัดการปัญหาผู้มีอิทธิพลเข้ามาเกี่ยวข้องกับกระบวนการค้าสลากฯ เหตุผลที่สลากฯ แพง ความเชื่อในเรื่อง “หวยล็อค” การเล่นหวยใต้ดิน
![]() |
การสำรวจปัญหาการจำหน่ายสลากกินแบ่งรัฐบาลเกินราคาและความคิดเห็นต่อแนวทางการแก้ไขในปัจจุบัน
โดย ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB)ระเบียบวิธีเพื่อการประเมินต้นทุนผลกระทบต่อสังคมจากการเล่นพนันในประเทศไทย
โดย ธัชนันท์ โกมลไพศาลวิถีพนันวัยใส: กรณีศึกษาเด็กและเยาวชนที่ถูกจับกุมด้วยคดีการพนันในภาคอีสาน
โดย กนกวรรณ มะโนรมย์ และคณะ