การวิจัย เรื่องนกกรงหัวจุก พนันพื้นบ้านในสังคมมุสลิมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาการเลี้ยงนกกรงหัวจุกในสังคมมุสลิมสามจังหวัดภาคใต้ เพื่อศึกษาวิวัฒนาการและรูปแบบการแข่งขันนกกรงหัวจุกในพื้นที่สังคมมุสลิมสามจังหวัดภาคใต้ ศึกษาผลกระทบที่เกิดจากการแข่งขันนกกรงหัวจุก และความเห็นและข้อเสนอแนะของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ นักวิชาการมุสลิมต่อการแข่งขันนกกรงหัวจุก
ผู้วิจัยจะใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารและภาคสนาม กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลทั่วไป เจ้าหน้าที่ภาครัฐฝ่ายปกครอง และผู้รู้หรือนักวิชาการมุสลิม ใช้วิธีการสุ่มแบบบังเอิญและเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depthInterview) และ การสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion)
จากการศึกษาพบว่า การเลี้ยงนกกรงหัวจุกในสังคมมุสลิมสามจังหวัดภาคใต้มีมามากกว่า 30 ปีที่ผ่านมา มีตลาดการค้าขายนกกรงหัวจุกที่ใหญ่สุดอยู่ที่บ้านกูแบอีเต๊ะ อำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี ส่วนการแข่งขัน พบว่า การแข่งขันนกกรงหัวจุกเกิดขึน้ ประมาณ ปี พ.ศ. 2504 แรกเริ่มแข่งแบบให้นกตีกันเหมือนไก่ชน กระทั่ง พ.ศ. 2515 ชาวสงขลาได้คิดเล่นแบบแข่งขันประชันเสียงร้องเหมือนนกเขาชวา โดยมีรูปแบบการแข่งขันสามประเภท คือ แบบ 4 ยก 8 ดอก แบบมาราธอน และประเภทเสียงทอง
ส่วนผลกระทบที่เกิดจากการแข่งขันนกกรงหัวจุก พบว่า การเลี้ยงและแข่งนกกรงส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ทางศาสนามากที่สุด ส่วนผลกระทบต่อผู้เลีย้ งและครอบครัวค่อนข้างน้อยส่วนความเห็นของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้รู้และนักวิชาการมุสลิมเกี่ยวกับการแข่งขันนกกรงหัวจุก พบว่า เจ้าหน้าที่ภาครัฐเห็นตรงกันว่าไม่เป็นการพนัน ส่วนนักวิชาการที่จบการศึกษาจากต่างประเทศส่วนมากเห็นว่าการแข่งขันทุกประเภทถ้ามีค่าสมัครและเอาเงินค่าสมัครเป็นรางวัลถือเป็นการพนัน แม้จะเรียกว่าค่าสมัครหรือค่าเช่าเสาก็ตาม ส่วนอิหม่ามมัสยิด โต๊ะครู หรือบาบอปอเนาะส่วนมากเห็นว่าการแข่งขันนกกรงหัวจุกเป็นการละเล่นชนิดหนึ่งที่ไม่ได้เรียกว่าการพนัน โดยให้เหตุผลว่าการแข่งขันจะเป็นพนันเมื่อมีการเดิมพันเท่านั้น ส่วนของรางวัลเป็นสิทธิของผู้จัดที่จะมอบให้ผู้ชนะ ซึ่งผู้แข่งขันไม่จาเป็นต้องรู้ว่ารางวัลมาจากที่ใดส่วนข้อสงสัยว่าการแข่งขันนกกรงหัวจุกเป็นการพนันหรือไม่มองได้สองมิติ คือ หากมองในมิติของหลักการศาสนา นิยามและความหมาย ตลอดจนแบบคัดกรองการติดการพนันก็ถือว่าเป็นการพนัน หากมองในมิติของการสนับสนุนของภาครัฐและพิจารณาจากบัญชีการพนันในพระราชบัญญัติการพนันก็ถือว่าการแข่งขันนกรงหัวจุกไม่ใช่การพนันส่วนข้อเสนอแนะจากนักวิชาการที่เห็นว่าการแข่งขันนกกรงเป็นการพนัน ได้เสนอแนะให้ผู้เลี้ยงนกว่า ควรดูแลนกให้ดีทั้งเรื่องอาหาร น้ำ ตลอดจนการหาคู่ให้นก นอกจากนี้ได้เสนอแก่ผู้จัดการแข่งขันให้หลีกเลี่ยงการเอาเงินค่าสมัครไปข้องเกี่ยวกับของรางวัล เพราะจะเป็นการพนัน ดาโต๊ะยุติธรรมจึงเสนอให้มุสลิมเลิกเลี้ยงและแข่งขันเพราะสุ่มเสี่ยงกับสิ่งต้องห้ามในหลักการอิสลาม ส่วนผู้รู้ที่ไม่ถือว่าการแข่งขันเป็นการพนัน เสนอให้ทุกคนรับฟังเหตุผลของอีกฝ่ายหนึ่ง ไม่ควรด่วนตัดสินว่าหะรอมโดยยังไม่รับฟังเหตุผลอีกฝ่ายให้ชัดเจน
![]() |
บทบาทของหนังสือพิมพ์ต่อการนาเสนอข่าวการพนันฟุตบอล
โดย ธวัชชัย ดวงไทยการวิจัยเพื่อสร้างชุดการเรียนรู้ต้นแบบเกี่ยวกับการพนันสำหรับเด็กในวัยเรียน
โดย ธีรารัตน์ วงศ์ธนะเอนก'นกกรงหัวจุก' พนันพื้นบ้านในสังคมมุสลิมสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
โดย อับดุลลาตีฟ การีความเชื่อทางศาสนา การปฏิบัติทางศาสนาและการเล่นการพนันของพุทธศาสนิกชนชาวไทยที่ไปวัดในกรุงเทพมหานคร
โดย อิสรา อุปถัมภ์ และสุจิตรา ไชยจันทร์