โครงการศึกษาการพนันกับการแข่งเรือยาวประเพณี ใช้วิธีการศึกษาใช้กรอบแนวคิดเรื่องตลาดมาวิเคราะห์รูปแบบการพนันแข่งขัน เครือข่ายความสัมพันธ์และพฤติกรรมการเล่นพนัน รวมถึงปริมาณความถี่ในการเล่นเพื่อดูปริมาณวงเงินพนันแข่งเรือยาว รวมถึงผลกระทบที่เกิดจากการเล่นพนัน และการวิเคราะห์โครงข่ายความสัมพันธ์ทางสังคมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเล่นพนันแข่งเรือยาวประเพณี
การเก็บข้อมูลเริ่มต้นศึกษาข้อมูลจากเอกสารและข้อมูลภาคสนามในพื้นที่ศึกษาการจัดแข่งขันเรือยาวประเพณีเขตหวัดพิษณุโลกและพิจิตร ศึกษาบริบทภูมิหลังของงานแข่งเรือยาวประเพณีในอดีตและเปลี่ยนแปลงจนถึงปัจจุบันโดยการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก(In-depth Interview) และการวิธีการสนทนากลุ่ม (Focus Group) และสังเกตการณ์ในกิจกรรมการแข่งขันเรือยาวประเพณี ผลการศึกษาพบว่า
1.การจัดงานแข่งเรือยาวประเพณีเปลี่ยนแปลงไปจากอดีต ซึ่งมีเงื่อนไขภายในจาก การใช้เรือเพื่อการสัญจรทางน้ำของคนในชุมริมน้ำได้ลดลงแต่ยังมีการแข่งขันเรือยาวเพราะถือว่าเป็นงานรื่นเริง สนุกสนามและประเพณีสืบเนื่องกันต่อมา ปัจจัยภายนอกจากหน่วยงานของรัฐไทยใช้วิธีส่งเสริมอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น และส่งเสริมประเพณีอันดีงามต่างๆ ของแต่ละภูมิภาคนำมาสู่การจัดงานเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจในชุมชน การจัดแข่งเรือยาวจึงมี “เจ้าภาพ” หลัก คือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณการจัดงานและนำมาสู่สนามแข่งเรือที่เพิ่มมากขึ้น
2.รูปแบบการจัดงานก่อเกิดกลุ่มผลประโยชน์ในกิจกรรมแข่งขันเรือยาว ประกอบไปด้วย เจ้าภาพ เจ้าของเรือและทีมเรือ ทีมฝีพาย กลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวข้องและนักพนันแข่งเรือ
3. การจัดงานแข่งเรือนำมาสู่การเล่นพนันที่สนามแข่งเรือ และยังไม่มีมาตรการการควบคุมปัญหาพนันในกิจกรรมแข่งเรือผลกระทบจากการเล่นพนันแข่งเรือนำมาสู่เครือข่ายและความสัมพันธ์พฤติกรรมการเล่นพนันแข่งเรือมี 3 กลุ่ม คือ (1)นักพนันระดับใหญ่ (2)นักพนันระดับกลาง (3) นักพนันรายย่อย
ข้อเสนอแนะ
1) ประเด็นรูปแบบการจัดงานแข่งเรือเสนอให้มีการระดมความคิดเห็นในพื้นที่เพื่อหาวิธีกำหนดจุดมุ่งหมายและขอบเขตการอนุรักษ์ฟื้นฟูประเพณีท้องถิ่นที่มีรูปแบบเฉพาะของแต่ละท้องถิ่น โดยใช้ประชาชนมีส่วนร่วมในการออกแบบและจัดกิจกรรมแข่งเรือตามความต้องการของคนในพื้นที่ร่วมการตรวจสอบใช้งบประมาณจัดงานโดยตรงจากประชาชน
2) พัฒนาต่อยอดจากทีมเรือที่แข่งขันเรือยาวประเพณีระดับชุมชนและท้องถิ่นไปสู่การเป็นทีมเรือแข่งขันระดับสากล
3) ในระดับจุลภาคควรสร้างมาตรการควบคุมปัญหาพนันในกิจกรรมแข่งเรือ และนำไปสู่พฤติกรรมการติดพนันได้ ดังจะเห็นได้จากที่นักพนันระดับกลางยกระดับการเล่นพนันไปสู่นักพนันระดับใหญ่ โดยมีปัจจัยจากเงินที่ได้จากบระบวนการแข่งเรือ งบประมาณของเจ้าภาพจัดสนามแข่งขันที่เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความสัมพันธ์จากพฤติกรรมการเล่นพนันที่ยังขาดมาตรการควบคุม และในระดับมหภาคควรสร้างความเข้าใจใหม่ว่าเรื่องการเล่นพนันมิใช่เรื่องของปัจเจกแต่เป็นเรื่องของสังคม การทดลองเล่นพนันในกิจกรรมแข่งเรือยาวประเพณีเพื่อให้ความสนุก ตื่นเต้นพร้อมกับชมการแข่งขันเป็นเรื่องของปัจเจกชนเริ่มไปสู่สังคมกลุ่มผู้เล่นพนัน เครือข่ายความสัมพันธ์และพฤติกรรมการเล่นพนันถือเป็นปัจจัยและเงื่อนไขให้ผู้เล่นต่อยอดไปสู่เล่นพนันรูปแบบอื่นๆ ได้
![]() |
การศึกษาสถานการณ์ พฤติกรรม และผลกระทบการพนันในประเทศไทย ประจำปี 2558
โดย ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB)ผลกระทบจากสถานการณ์การพนันตามแนวชายแดน: กรณีคิงส์โรมันคาสิโน เขตเศรษฐกิจพิเศษสามเหลี่ยมคำ สปป.ลาว
โดย ณัฐกร วิทิตานนท์ฟุตบอลไทยพรีเมียร์ลีก: ความเป็นชาย วัยรุ่น และวัฒนธรรมบริโภคนิยม
โดย วสันต์ ปัญญาแก้ว, อาจินต์ ทองอยู่คง, พงศกร สงวนศักดิ์, ปลายฟ้า นามไพรการสำรวจความคิดเห็นต่อข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาสลากกินแบ่งรัฐบาล
โดย ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ (SAB)