การวิจัยกึ่งทดลองแบบวัดก่อนและหลังการทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกระบวนการให้คำปรึกษาอย่างสั้นและการเสริมแรงจูงใจผู้มีปัญหาพนัน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้มีปัญหาการพนันในเขตตำบลชุมพล อำเภอองครักษ์ จังหวัดนครนายก จำนวน 30 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง โดยใช้แบบประเมิน DSM-VI เครื่องมือในการศึกษา คือ กระบวนการให้คำปรึกษาอย่างสั้นและเสริมแรงจูงใจ แบบประเมินความรุนแรงปัญหาพนัน ไม้บรรทัดวัดความพร้อม แบบประเมินแรงจูงใจ แบบประเมินความเครียด (ST-5) และแบบประเมินภาวะสุขภาพฉบับภาษาไทย (Thai GHQ-12) แล้วเข้าสู่กระบวนการให้คำปรึกษาอย่างสั้นจำนวน 4 ครั้ง ใช้เวลาครั้งละ 40-60 นาที เป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบความแตกต่างด้วยสถิติ t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการให้คำปรึกษาอย่างสั้นและเสริมแรงจูงใจประกอบด้วย (1) การคัดกรองปัญหาพนัน (2) การประเมินความพร้อมในการปรับเปลี่ยน (3) การเข้าสู่กระบวนการให้คำปรึกษา (4) การให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง และ (5) การยุติการให้คำปรึกษา 2) จำนวนวันเล่นพนันเฉลี่ยต่อเดือนก่อนรับคำปรึกษา 12.2 วัน หลังรับคำปรึกษา 6.2 วัน ลดลงร้อยละ 48.9 3) จำนวนเงินที่เล่นพนันเฉลี่ยต่อครั้งก่อนรับคำปรึกษา 933.3 บาท หลังรับคำปรึกษา 616.5 บาท ลดลงร้อยละ 33.9 4) ค่าเฉลี่ยความพร้อมในการปรับเปลี่ยน จำแนกเป็น กลุ่มเมินเฉย/ไม่สนใจปัญหา ( =2.8) กลุ่มลังเลใจ ( =5.3) และกลุ่มพร้อมปรับเปลี่ยน ( =8.3) 5) ค่าเฉลี่ยความรุนแรงปัญหาพนันโดยรวมก่อนรับคำปรึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ( =18.5) หลังรับคำปรึกษาอยู่ในระดับปานกลาง( =13.3 ) 6)ค่าเฉลี่ยแรงจูงใจก่อนรับคำปรึกษาอยู่ในระดับพอใช้ ( =18.2 )หลังรับคำปรึกษาอยู่ในระดับ ปานกลาง ( =26.6) 7) ค่าเฉลี่ยความเครียดก่อนรับคำปรึกษาอยู่ในระดับมาก ( = 8.9 ) หลังรับคำปรึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ( =6.7) 8) ค่าเฉลี่ยปัญหาภาวะสุขภาพก่อนรับคำปรึกษาอยู่ในระดับปานกลาง ( =7.2 ) หลังได้รับคำปรึกษาปัญหาภาวะสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ ( = 5.06 ) และ 9) เมื่อทดสอบความแตกต่างก่อนและหลังให้คำปรึกษาพบว่า ความพร้อมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ระดับแรงจูงใจ และความเครียดมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนความรุนแรงปัญหาพนัน และภาวะสุขภาพไม่มีความแตกต่างทางสถิติ
จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่ากระบวนการให้คำปรึกษาและเสริมแรงจูงใจในการบำบัดในผู้มีปัญหาพนันทำให้ผู้มีปัญหามีพฤติกรรมเล่นพนันลดลงและมีคุณภาพชีวิตประจำวันดีขึ้น
![]() |
การพนันออนไลน์ สถานการณ์ นโยบายและการควบคุม
โครงสร้างและผู้กระทำการที่มีผลต่อการขยายตัวของธุรกิจพนันฟุตบอลออนไลน์
แนวทางการสร้างความร่วมมือในมิติชุมชนเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาการพนันในชุมชนท้องถิ่นจังหวัดศรีสะเกษ
บทสังเคราะห์งานวิจัย การพนันในอีสาน: มองผ่านบริบทวัฒนธรรมความเชื่อและวัฒนธรรมการเมือง