ปัญหาการพนัน เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกในสังคมไทยมายาวนาน การจัดการปัญหาการพนันจึงไม่สามารถทำให้เสร็จในระยะเวลาอันสั้นหรืออาศัยบุคคลเพียงคนเดียว กลุ่มเดียว ในการจัดการปัญหาดังกล่าวได้ ดังนั้นการมีส่วนร่วมของคนในสังคมจึงเป็นทั้งแนวคิดและเครื่องมือที่สำคัญที่จะนำพาไปสู่การแสวงหาทางออกที่เหมาะสมสำหรับการจัดการปัญหาการพนันในสังคมได้
งานเขียนเล่มนี้เป็นงานเขียนที่ถอดเนื้อความส่วนหนึ่งมาจากรายงานการวิจัยเรื่อง การจัดการปัญหาการพนันในชุมชนโดยธรรมนูญสุขภาพตำบล: กรณีศึกษาเทศบาลตำบลหนองหิน อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการปัญหาการพนันในชุมชน สิ่งที่นำเสนอในงานเขียนเล่มนี้ถือเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับการจัดการปัญหาการพนันในชุมชน โดยเนื้อหามีทั้งหมด 6 บท คือ บทที่ 1 เกริ่นนำ เป็นการทำความรู้จักธรรมนูญสุขภาพตำบล บทที่ 2 หนองหินบ้านเฮา เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงพื้นที่ตำบลหนองหินและการก่อเกิดธรรมนูญสุขภาพตำบลในฐานะเครื่องมือสำคัญในการขับเคลื่อนงานสุขภาวะในท้องถิ่น บทที่ 3 จากงานเศร้าสู่งานสานพลัง บทเรียนการจัดการ “อบายมุข” ในงานศพของชุมชน ส่วนบทที่ 4 หวย ลอตเตอรี่ ความหวังหรือความเสี่ยง และบทที่ 5 สื่อพลังชุมชน เครื่องมือรณรงค์หยุดเล่นพนัน “หวย ลอตเตอรี่” ในชุมชน เป็นการนำเสนอกระบวนการพัฒนารูปแบบการจัดการปัญหาการเล่นพนันหวยและลอตเตอรี่ในชุมชน สุดท้ายบทที่ 6 บทสรุป
หลงกลพนัน : ต้นทุนต่อสังคมและความจริงที่ซ่อนอยู่
โดย บุญชัย แซ่เงี้ยว (บรรณาธิการ)คู่มือสร้างสุข บทเรียนการจัดการปัญหาการพนันหวยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
โดย คชษิณ สุวิชา และ ชลธิดา บัวหาคู่มือการให้คำปรึกษาโดยชุมชน เพื่อลดปัญหาและผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยง
โดย ทิพวัลย์ รามรง (เรียบเรียง) ธนากร คมกฤส (บรรณาธิการ)สถานการณ์การพนันกลุ่มเด็กและเยาวชน ปี 2562
โดย CGSสถานการณ์การพนันกลุ่มผู้สูงวัย ปี 2562
โดย CGS