หนังสือเล่มนี้ดัดแปลงมาจากรายงานวิจัยเรื่อง สรุปองค์ความรู้เรื่องจิตวิทยาของการพนันแบบเป็นปัญหา (Problem Gambling) ซึ่งผู้เขียนทำเสนอศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปี 2562 โดยมุ่งให้เป็นหนังสือที่คนทั่วไปจะอ่านได้ง่ายขึ้น
ผู้เขียนตั้งชื่อเรื่องว่า เสพติดการพนัน เพราะงานของนักวิจัยในเรื่องนี้ได้ข้อสรุปใหญ่ๆ ที่คล้ายกันว่าคนที่ติดการพนันอย่างยับยั้งใจไม่ได้ เป็นอาการผิดปกติทางจิต ชนิดหนึ่งที่มีส่วนคล้ายคลึงกับเสพติดสารเสพติดชนิดอื่นๆ เช่น เหล้า สารเสพติดชนิดต่างๆ ในหลายเรื่อง การใช้คำว่าเสพติด ผู้เขียนต้องการตอกย้ำความสำคัญของเรื่องนี้ เนื่องจากคนส่วนใหญ่รวมทั้งคนไทยมักจะชอบคิดว่าการพนันเป็นเรื่องของการเล่นเกมสนุกเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ หรือเป็นการเล่นเสี่ยงโชคโดยการลงทุนเพียงจำนวนน้อย เช่น การซื้อล็อตเตอรี่สลากกินแบ่งรัฐบาล หรือหวยใต้ดินบางครั้ง โดยถือว่าเป็นเรื่องที่อาจเสพติดหรือมีปัญหา สร้างความเสียหายใหญ่โตสำหรับคนทั่วไป นอกจากคนส่วนน้อยที่มีพฤติกรรมส่วนตัวที่ติดการพนันมาก จนเกิดความเสียหายแก่ตัวเองและครอบครัว
ในระยะ 20-30 ปีที่ผ่านมา นักวิชาการ (ในประเทศพัฒนาอุตสาหกรรม) พบว่ามีคนจำนวนหนึ่งที่ติดการพนันมากจนเป็นปัญหามากในหลายด้าน ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ สุขภาพจิตและสุขภาพกาย ปัญหาทางการเรียน, การทำงาน ความสัมพันธ์กับ ครอบครัว และคนอื่นๆ มีปัญหาทางการเงิน, หนี้สินและปัญหาทางสังคม เช่น การฉ้อโกง อาชญากรรม ฯลฯ ที่มีผลเสียหายในวงกว้าง จึงได้มีการวิจัยและการหาทางป้องกัน/บำบัดคนเสพติดการพนันกันเพิ่มขึ้น
ธุรกิจการเล่นพนันออนไลน์ที่ภาครัฐควบคุมได้ยากขึ้นในยุคปัจจุบัน ทั้งเด็กวัยรุ่น คนทำงาน คนสูงอายุ ทั้งผู้หญิง (ซึ่งแต่เดิมมักเล่นการพนันหรือติดการพนันน้อยกว่าผู้ชาย) ก็นิยมเล่นการพนันกันทั้งในโลกจริงและออนไลน์มากขึ้น การที่คนในโลกยุคปัจจุบันเข้าถึงการเล่นการพนันได้ง่าย และมีการโฆษณาประชาสัมพันธ์แบบธุรกิจเพื่อหากำไรมาก ทำให้คนนิยมเล่นการพนันเพิ่มขึ้นและมีโอกาสนำไปสู่การติดการเล่นการพนันจนเป็นปัญหาได้เพิ่มขึ้น
สภาพเศรษฐกิจสังคมแบบทุนนิยมอุตสาหกรรมในปัจจุบันที่เน้นเรื่องการแข่งขันกันหาเงิน หาความมั่งคั่งทางวัตถุ และการเสพสุขบริโภคสินค้าบริการชนิดต่างๆ ส่งเสริมการขยายตัวของธุรกิจ (หรือบางแห่งใช้คำว่าอุตสาหกรรม) การพนันทั้งถูกกฎหมายและใต้ดินเพิ่มขึ้น
การเติบโตของระบบเศรษฐกิจทุนนิยมอุตสาหกรรมยังส่งเสริมทั้งเรื่องความเครียด โรคผิดปกติด้านการจิตใจประเภทต่างๆ เสพติดในหลายด้าน รวมทั้งการพนันสร้างความเสียหายหลายอย่างให้กับทั้งผู้เสพติดการพนันและครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อน ชุมชน และประเทศ
นักวิจัยพบว่าพฤติกรรมการเล่นการพนันจนติดเป็นปัญหา นั้นเป็นเรื่องที่มีสาเหตุที่มา มีปัจจัยเสี่ยงเกี่ยวกับความคิด จิตใจ และพฤติกรรมต่อสิ่งเร้าและการสนองความต้องการของมนุษย์ อันเป็นผลมาจากประสบการณ์และสิ่งแวดล้อมบางอย่าง ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่ประชาชนและสังคมควรมีความรู้เท่ากัน
คนไทยกำลังเผชิญกับปัญหาการขยายตัวของการเล่นการพนันและการเสพติดการพนันเพิ่มขึ้น โดยที่เราไม่ค่อยรู้ตัว ทั้งๆ ที่มีการเล่นการพนันทั้งเปิดเผยและแฝงเร้นอยู่มาก มีการสำรวจวิจัยและเผยแพร่องค์ความรู้ในเรื่องปัญหาการพนันนี้ค่อนข้างน้อย หนังสือเล่มนี้คือความพยายามที่จะช่วยเสริม เนื่องจากหนังสือเล่มนี้มุ่งเขียนใหม่ให้สั้นและอ่านง่าย สำหรับคนทั่วไป จึงได้ตัดเชิงอรรถอ้างอิงส่วนใหญ่จากหนังสือ บทความภาษาอังกฤษออก ผู้ที่สนใจจะค้นคว้าเพิ่มเติมหรือต้องการอ้างอิงสามารถค้นได้จากรายงานวิจัยฉบับเต็มของผู้เขียน ในเว็บไซต์ของศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย www.gamblingstudy_th.org
ความรู้ให้คนไทยรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมที่สร้างปัญหาเหล่านี้ ประเด็นสำคัญที่ผู้เขียนพยายามนำองค์ความรู้ต่างประเทศมาเล่าให้ฟังคือ อะไรคือปัจจัยที่ทำให้คนบางคนติดการพนันจนเป็นปัญหา ปัญหามีความเสียหายขนาดไหน และมีแนวทางป้องกันแก้ไขและแนวทางบำบัดอย่างไรบ้าง
ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานว่าการสำรวจกลุ่มตัวอย่างอายุ 15 ปีขึ้นไปทั่วประเทศ พบว่าในปี 2560 คนไทยเล่นการพนันเพิ่มจาก 2 ปีก่อนหน้านั้น คนเล่นการพนันมีสัดส่วน 54.6% ของกลุ่มตัวอย่าง (หรือประมาณการ 29 ล้านคน) โดยนิยมเล่นหวยรัฐบาล หวยใต้ดิน ไพ่ และทายผลการแข่งฟุตบอลมากตามลำดับ ที่น่าสนใจคือคนเล่นการพนันที่ประเมินว่าตนเองติดการพนัน คือเล่นมาก เล่นบ่อย เลิกไม่ได้ มีปัญหาด้านต่างๆถึง 16.1% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่สูงกว่ารายงานของประเทศอื่นๆ (ประมาณการ 4.663 ล้านคน)
ปัญหาใหญ่อีกข้อหนึ่งคือการแพร่หลายของอินเทอร์ เน็ตผ่านทางสมาร์ทโฟนที่คนไทยใช้กันมาก มีเว็บไซต์เล่นการพนันออนไลน์ (จากทั่วโลก) ให้คนไทยเข้าถึงได้มากกว่า 2 แสนเว็บไซต์ สถาบันยุวทัศน์แห่งประเทศไทยอ้างอิงสถิติจากหนังสือ กลไกเชิงพื้นที่ในการป้องกันและลดผลกระทบจากการพนัน: บทเรียนทรงพลัง เด็กเยาวชนเล่นการพนัน 3.69 ล้านคน ในจำนวนนี้กว่า 1 แสนคน ติดหนี้การพนันเป็นเงินราว 335 ล้านบาท (ไทยโพสต์ 12 กันยายน 2562) ทำให้มีการนิยมเล่นการพนันกันได้สะดวก และแพร่หลายเพิ่มขึ้น (ทั้งการพนันการแข่งฟุตบอล คาสิโนออนไลน์ และอื่นๆ) ศูนย์การศึกษาปัญหาการพนัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รายงานว่ามีคนไทยทั้งเด็กเยาวชน ผู้หญิง คนสูงวัย เล่นการพนันสูงขึ้นในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา
ที่มา: คำนำ โดย ผู้เขียน
ปริทรรศน์กฎหมายการพนันประเทศสิงคโปร์ โดยสังเขป
โดย พงศกร เรืองเดชขจรสถานการณ์การพนันปี 2564 กลุ่มเด็กและเยาวชน
โดย CGSหลงกลพนัน : ต้นทุนต่อสังคมและความจริงที่ซ่อนอยู่
โดย บุญชัย แซ่เงี้ยว (บรรณาธิการ)คู่มือสร้างสุข บทเรียนการจัดการปัญหาการพนันหวยโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
โดย คชษิณ สุวิชา และ ชลธิดา บัวหา