{#CGS logo 2015.png}

 

ศูนย์ศึกษาปัญหาการพนัน (Center for Gambling Studies) อักษรย่อ CGS เป็นองค์กรทางวิชาการที่ทำการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้และจัดการความรู้ที่อยู่ภายใต้บริบทสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมไทย พร้อมทั้งเผยแพร่ความรู้เพื่อให้เกิดการผลักดันมาตรการและกลไกในการควบคุมปัญหา
การพนัน

พันธกิจ

  1. สนับสนุนให้เกิดการวิจัยเพื่อสร้างความรู้ในการเฝ้าระวังสถานการณ์และปัญหาการพนัน เพื่อนำเสนอมาตรการ กลไก ที่เหมาะสมในการจัดการปัญหาการพนัน
  2. สนับสนุนให้เกิดเครือข่ายทางวิชาการในระดับพื้นที่ ระดับประเทศ และต่างประเทศ และรวมถึงมีการพัฒนาศักยภาพนักวิจัยและนักวิชาการอย่างต่อเนื่อง
  3. สนับสนุนให้เกิดการจัดการความรู้ในรุปแบบต่างๆ เพื่อให้สามารถเข้าถึงกลุ่มต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ที่สำคัญ ในการควบคุมและจัดการทางด้านการพนัน โดยองค์ความรู้ที่ได้มาจะมีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การนำเสนอนโยบาย มาตรการต่างๆ เพื่อให้เกิดการควบคุมทางด้านอุปทาน การลดอุปสงค์ และการลดผลกระทบของการพนัน
  2. เพื่อกระตุ้นให้เกิดนักวิจัยรุ่นใหม่ ทั้งที่อยู่ในและนอกสถาบันการศึกษา รวมถึงชุมชนเครือข่ายต่างๆ และมีการสร้างเครือข่ายและเพิ่มศักยภาพของนักวิจัย ให้มีความต่อเนื่องเท่าทันกับสถานการณ์การพนัน ซึ่งมีการพัฒนาเปลี่ยนรูปแบบอย่างต่อเนื่อง
  3. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมการพนัน ทั้งจากงานวิจัย องค์ความรู้ และประสบการณ์ที่เกิดในประเทศไทยและต่างประเทศ เป็นแหล่งเผยแพร่ข้อมูลเพื่อให้สาธารณชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาที่เกี่ยวเนื่องกับการพนัน

ยุทธศาสตร์

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 สร้างความรู้ โดยสนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับการเฝ้าระวังสถานการณ์ พัฒนานโยบาย มาตรการ และกฎหมาย ในการกำกับดูแลและควบคุมการพนันทางด้านอุปทาน (Supply Control) การศึกษาและวิเคราะห์พฤติกรรมในการเล่นพนัน การควบคุมทางสังคมของชุมชนและการวิจัยทางด้านจิตวิทยา สร้างความเข้าใจและหามาตรการการรณรงค์ เผยแพร่ความรู้ ที่สามารถเข้าถึงกลุ่มเสี่ยงต่างๆ และการปรับเปลี่ยนบรรทัดฐานทางสังคม ทำให้สังคมมองเห็นว่าการพนันไม่ใช่เรื่องปกติ เพื่อลดอุปสงค์และลดปัญหาผลกระทบต่างๆจากการมีการพนัน รวมถึงการอุดหนุนทุนวิทยานิพนธ์เพื่อขยายเครือข่ายนักวิจัย และอุดหนุนงานวิจัยเร่งด่วนประกอบการขับเคลื่อนนโยบายและการขับเคลื่อนสังคมของภาคีเครือข่าย
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างเครือข่ายการวิจัย นักวิชาการ โดยพยายามสร้างความเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษา องค์กรภาคต่างๆ ตั้งแต่นักวิชาการในมหาวิทยาลัย ในสาขาต่างๆ จนถึงการวิจัยในระดับชุมชน พัฒนาเครือข่ายนักวิชาการและพัฒนาศักยภาพนักวิจัยด้านการควบคุมการพนัน
  • ยุทธศาสตร์ที่ 3 การจัดการความรู้และเผยแพร่ โดยการรวบรวมความรู้จากแหล่งต่างๆ พัฒนาระบบฐานข้อมูลต่อเนื่อง สังเคราะห์และย่อยความรู้เพื่อนำไปสู่การเผยแพร่ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย ทั้งในเว็บไซต์และสิ่งพิมพ์ รวมถึงการจัดทำสื่อเชิงรุกเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเชิงนโยบายและการขับเคลื่อนสังคมของภาคีเครือข่าย และการจัดประชุมสัมมนา ทั้งการจัดประชุมวิชาการประจำปี และการสนับสนุนการจัดเวทีในพื้นที่ปฏิบัติการของภาคีเครือข่าย เพื่อนำไปสู่การกระตุ้นให้เครือข่ายชุมชนนำความรู้ไปจัดการปัญหาในพื้นที่
  • ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบริหารจัดการศูนย์ฯ เพื่อเป็นศูนย์กลางในการจัดการความรู้และเผยแพร่สู่สาธารณชน ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ทางด้านการบริหาร ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานภายใน